วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

รวมฉากเด็ดในละคร บุพเพสันนิวาส

  บุพเพสันนิวาส



ชม้อย ชะม้าย ชายตา...อย่างงี้เหรอ 






ข้าเป็นนางมารร้ายในละครโทรทัศน์อย่างงั้นเรอะ






 ถ้าอย่างงั้น...ต้องเก็บเสียง








 เอาตะเกียงไหมค้าาา...มืดแล้วน้าาาา















 Credit by
https://www.youtube.com/watch?v=wJluOM9C0Jw

มหกรรมจันทน์กะพ้อเกมส์ครั้งที่ 9



พิธีเปิดมหกรรมจันทน์กะพ้อเกมส์ ครั้งที่ 9  ณ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตยะลา




การเเสดงปันจักสีลัตฮาลีเมา 












อธิการบดีขี่จักรยานเพื่อเปิดพิธี









ขบวนพาเหรดของคณะต่างๆ




























เเสตนเชียร์ทั้ง 4 คณะ











บรรยากาศหลังงานจบ เย่!


















Credit by เพจองค์การบริหารนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

โคนมพระราชทาน

โครงการอาชีพพระราชทาน ตามแนวพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9




โคนมพระราชทาน

          อาชีพการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย เกิดจากสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ครั้งเสด็จประพาสทวีปยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2503 ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของชาวเดนมาร์กเป็นอย่างมาก เพราะทรงตระหนักว่า "นม" มีคุณค่าทางอาหารสูงและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายมนุษย์ อีกทั้งการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้เกษตรกรชาวไทยมีอาชีพที่มั่นคงดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งที่ว่า “การเลี้ยงโคนมก็เป็นอาชีพที่ดีสำหรับคนไทย เหมาะกับประเทศ และถ้าใช้หลักวิชาที่เหมาะสม ก็จะทำให้มีความเจริญและมีรายได้ดี”











       ในขณะนั้นประเทศเดนมาร์ค ถือได้ว่ามีเทคโนโลยีการเลี้ยงโคนมที่ทันสมัยที่สุด ได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจพื้นที่ในประเทศไทย ทีมสำรวจขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจกันตั้งแต่เขาใหญ่จนถึงหัวหิน และพบว่าบริเวณจังหวัดสระบุรี มีธรรมชาติและแหล่งน้ำ เหมาะแก่การทำฟาร์มโคนมที่สุด









          หลังจากนั้น จึงเริ่มส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยขึ้น จากความร่วมมือของประเทศเดนมาร์กที่ได้ส่งนักวิชาการเข้ามาช่วยเหลือ และได้จัดตั้งเป็น "ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ก" ขึ้นที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ในปี พ.ศ. 2505 นับเป็นกิจการฟาร์มโคนมแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งพัฒนาต่อยอดจนมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้เกษตรกรในประเทศจำนวนมาก ทำให้ปัจจุบัน เรามีนมโคแท้จากโครงการพระราชดำริ ให้เลือกบริโภคเพื่อสุขภาพอยู่มากมายหลายยี่ห้อ อย่างเช่น นมไทย-เดนมาร์ก, นมยู.เอช.ที. สวนจิตรลดา, นมหนองโพ, นมสดชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ และนมอัดเม็ดสวนจิตรลดา 








         อาชีพการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย เป็นอาชีพพระราชทาน ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2505 เป็นต้นมา สร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชนชาวไทย ไม่น้อยกว่า 26,000 ครอบครัว สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจผลิตภัณฑ์นม ปีละประมาณ 60,000 ล้านบาท (กรมส่งเสริมสหกรณ์ : ข้อมูล MOU ปี 2557/2558)







     ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ได้รวมกลุ่มกันดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์ ตามแนวพระราชดำริเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทย ส่งผลในวงกว้างในการผลักดันให้รัฐบาล และภาคเอกชนดำเนินการ ส่งเสริมการทำฟาร์มโคนม และเกิดการแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมนมครบวงจร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระราชกรณียกิจ พระปรีชาสามารถ พระวิริยะอุตสาหะของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อกิจการโคนมไทยดังกล่าว จึงทรงได้รับการน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า “พระบิดาแห่งการโคนมไทย”










Credit by

http://www.dpo.go.th/


ปลานิลจิตรลดา



โครงการอาชีพพระราชทาน ตามแนวพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9






ปลานิลจิตรลดา

          โครงการปลานิลจิตรลดา เริ่มมาจากที่พระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (Tilapia) จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 จากนั้นพระองค์จึงทรงทดลองเลี้ยงปลาชนิดนี้ภายในสวนจิตรลดา ซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ปี ก็พบว่าปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในประเทศไทย 





          จนกระทั่งในวันที่ 17 มีนาคม 2509 พระองค์ได้พระราชทานลูกปลานิล จำนวน 10,000 ตัว ให้แก่กรมประมง เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงและเป็นการสร้างอาชีพให้เกษตรกรชาวไทย พร้อมพระราชทานนามว่า “ปลานิล” เพราะมีสีเทา ๆ ดำ ๆ อีกทั้งยังเข้ากับชื่อแม่น้ำไนล์ (Nile) ซึ่งที่เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมของปลาชนิดนี้ รวมทั้งคำว่า ปลานิล ยังเป็นชื่อที่สั้น เป็นที่จดจำได้ง่ายของคนทั่วไป
       




          หลังจากนั้น กรมประมงจึงได้นำปลานิลไปทดลองและเพาะเลี้ยงในสถานีประมงต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อนำมาแจกจ่ายพันธุ์ปลานิลให้แก่ราษฎรนำไปเพาะเลี้ยงตามความต้องการ นับแต่นั้นเป็นต้นมา ปลานิลก็กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจของประเทศไทย ที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ซึ่งปัจจุบัน ประเทศไทยมีการผลิตปลานิลได้ไม่น้อยกว่า 200,000 ตันต่อปี โดยมีมูลค่าตลาดรวมถึง 10 ล้านบาท พร้อมยังสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศเกือบ 20,000 ตันต่อปีอีกด้วย 






          และนอกจากเรื่องการสร้างอาชีพให้ผู้เพาะเลี้ยงแล้ว ปลานิลยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์ ให้โปรตีนสูง และมีราคาไม่แพง การแพร่พันธุ์ปลานิลจึงเป็นการสนองพระราชดำริเผยแพร่อาหารโปรตีนราคาถูกให้ประชาชนในถิ่นทุรกันดารที่ไม่ค่อยมีอาหารประเภทโปรตีน ได้รับประทานอาหารประเภทนี้มากขึ้นเพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโต  





          แต่รู้ไหมว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระองค์ไม่โปรดเสวยปลานิล ซึ่งทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยพระองค์ทรงมีรับสั่งว่า ที่ไม่โปรดเสวยปลานิลนั้น "ก็เพราะเลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร"












Credit by



โครงการหลวงพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขา


      

โครงการอาชีพพระราชทาน ตามแนวพระราชดำริในหลวง รัชกาลที่ 9




โครงการหลวงพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขา
       
          จุดเริ่มต้นมาจากการที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯ ทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของชาวเขาที่บ้านดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2512 แล้วพบว่า ชาวเขาส่วนมากยังมีฐานะยากจนและมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก โดยมีการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อยลอยเป็นอาชีพหลัก ซึ่งนอกจากจะผิดกฎหมาย เพราะเป็นต้นตอของการผลิตยาเสพติดแล้ว การปลูกฝิ่นยังเป็นการทำลายธรรมชาติ ทำให้ป่าต้นไม้เสียหาย และนั่นก็ไม่ได้ทำให้ชาวเขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 






          พระองค์จึงริเริ่มโครงการหลวงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวเขา ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชาวเขา และกำจัดการปลูกฝิ่น เพื่อลดปัญหายาเสพติดในประเทศ โดยพระองค์พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อจัดหาที่ดินดำเนินงานวิจัยไม้ผลเมืองหนาวเพิ่มเติม จากเดิมที่มีเพียงสถานีวิจัยดอยปุย ซึ่งมีพื้นที่คับแคบ  





          ต่อมาพระองค์จึงได้โปรดเกล้าฯ ตั้งสถานีเกษตรกรหลวงอ่างขาง ซึ่งถือว่าเป็นสถานีวิจัยแรกของโครงการหลวง โดยระยะเริ่มต้นของโครงการ ได้มีการทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ เพื่อวิจัยว่าพืชชนิดใดมีความเหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย แล้วนำมาสนับสนุนให้ชาวเขาเพาะปลูกแทนการปลูกฝิ่น จนปัจจุบันมีพืชเศรษฐกิจหลายชนิดที่ประสบผลสำเร็จ มีผลผลิตออกมาจำหน่ายในท้องตลาด เช่น สตรอว์เบอร์รี กาแฟอาราบิก้า ถั่วแดง กะหล่ำปลี พีช กีวี เสาวรส เป็นต้น 





          รวมถึงยังมีการนำผักผลไม้สดที่ผลิตได้ มาทำเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปในชื่อตราสินค้า "ดอยคำ" ไม่ว่าจะเป็นน้ำมะเขือเทศ น้ำเสาวรส ลิ้นจี่ลอยแก้ว ผลไม้อบแห้ง แยมผลไม้ และน้ำผึ้งสมุนไพร ซึ่งนอกจากโครงการหลวงจะได้สร้างคุณประโยชน์ต่อชาวเขาให้มีอาชีพทำกิน เลี้ยงตัวเองได้อย่างมั่นคงแล้ว ยังได้สร้างประโยชน์ให้ประชาชนทั่วไปอย่างเรา ๆ ได้มีอาหารปลอดสารพิษ อาหารคุณภาพดีไว้บริโภค โดยเฉพาะพืชเมืองหนาวหลาย ๆ ชนิดที่ได้มีการศึกษาวิจัยจนสามารถเพาะพันธุ์ในเมืองไทยได้ จึงไม่ต้องนำเข้าจากเมืองนอก เป็นการช่วยลดภาระให้ประเทศชาติ อีกทั้งยังสามารถส่งออกได้อีก ซึ่งนับว่า โครงการหลวงเป็นโครงการที่พลิกชีวิตชาวเขา ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างแท้จริงและยั่งยืน 




          สมดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2512 ที่ว่า...“เรื่องที่จะช่วยชาวเขา และโครงการของชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้ให้กับเขาเอง จุดประสงค์อย่างหนึ่งคือมนุษยธรรม หมายถึงให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดารสามารถมีความรู้และพยุงตัว มีความเจริญได้”....



          สำหรับปัจจุบันโครงการหลวงมีสถานีวิจัย ทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง, สถานีวิจัยโครงการหลวงอินทนนท์, สถานีเกษตรหลวงปางดะ และสถานีวิจัยกาแฟอราบิก้าแม่หลอด รวมทั้งมีศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอีกถึง 21 แห่ง











Credit by